[Blog] ตัวอย่างของคน Move on ไม่ได้ เลยต้องสั่ง Keychorn K6 มาใช้
สวัสดี… วันนี้ขอหลบจากเรื่องโมเดล มาเขียนอะไรอย่างอื่นบ้าง แต่จริง ๆ มันก็เกี่ยวข้องกันบาง ๆ ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นเหมือนกันไหม แต่ด้วยความที่เป็น Modeller มันต้องมีอาวุธดี ๆ ติดตัว แน่นอนว่าอาวุธที่หมายถึงคือ Keyboard ที่ใช้ในการเขียน Code ก่อนหน้านี้เคยใช้ Mechanical keyboard มาบ้าง แต่หลัก ๆ ไม่ได้ใช้ในทำ Coding เท่าไหร่ เอาไว้เล่นเกมทั่วไปมากกว่า ซึ่งมันก็เป็น Keyboard มาตรฐาน Full size แถมยังมีสายต่อด้วย (ไม่ได้เชื่อมต่อแบบไร้สาย)
ปัญหาของ Keyboard ขนาดปกติคือ พื้นที่บริเวณ Numpad ที่ไม่ได้ใช้งานมัน ส่งผลไปถึงองศาข้อมือในการพิมพ์ ที่ไม่ค่อยต้องเท่าไหร่ ถ้าอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม แนะนำให้อ่านลิงค์ข้างล่างเลย มีคนทำ Risk factors ออกมาให้ดูทั้งหมดแล้ว
พอรู้ว่าตัวเองอยากได้อะไร การเลือกคีย์บอร์ดมา 1 ตัว มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเหมือนกัน เพราะมันเริ่มตั้งแต่ขนาด Layout วัสดุ รวมไปถึงการเชื่อมต่อ ยอมรับว่ามันหลายเรื่องมาก แต่สุดท้ายก็มาจบที่ Keychorn K6 ลองไล่ไปทีละข้อว่าทำไมมาจบที่ตัวนี้
- ขนาด ตอนแรกในใจอยากได้ 75% เพราะว่าพวก Function keys มันยังจำเป็นอยู่สำหรับบางโปรแกรมที่ใช้ในการทำ Coding แต่พอคิดดูแล้ว เรากำหนด Shoutcut ใหม่ก็ได้ เพราะ Function keys ถือว่าไม่ได้กดบ่อยเท่าไหร่ ดังนั้น 75% เลยตัดออกไป ต่อมาดูที่ 60% ขนาดนี้คือเหมาะสมมาก และเป็นขนาดที่โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่เลือกใช้งานด้วย แต่ส่วนตัวยังเป็นคนที่ Arrow keys อยู่ ไม่ถนัดการใช้งานแบบกด Function key + somekeys ดังนั้นขนาดนี้ก็ตกรอบไปเช่นกัน สุดท้ายเหลือ 65% อยู่แค่ขนาดเดียวแล้ว
- Layout การใช้งานหลักอยู่ที่ Mac แล้วด้วยความเรื่องมากของตัวเอง ยังไงก็ขอ Keyboard ที่สกรีน Mac keyboard layout ถึงแม้ว่า Windows keyboard layout มันก็ใช้ได้เหมือนกัน หรือแม้กระทั่งใช้โปรแกรมปรับแต่งก็ทำได้เหมือนกัน แต่ไม่เอา อยากได้สกรีน Mac layout เท่านั้น
- วัสดุ อันนี้รู้ใจตัวเองตั้งแต่แรกเลยว่า อยากได้เคสที่เป็นอะลูมิเนียม เพราะดูจากรีวิวมาหลายที่มันให้ความแข็งแรงมากกว่าพลาสติกมาก ถึงแม้มันมาพร้อมน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจจะพกไปไหนด้วยอยู่แล้ว เน้นใช้งานกับโต๊ะมากกว่า
- การเชื่อมต่อ ต้องเป็นแบบไร้สายเท่านั้น (หมายถึงว่าไร้สายเป็นหลัก จะมีสายก็ได้ แต่เอาไว้ชาร์ตอย่างเดียว) ที่สำคัญต้องเชื่อมต่อได้มากกว่า 2 อุปกรณ์ขึ้นไปด้วย เพราะต้องสลับการใช้งานอยู่บ่อย ๆ แล้วไม่อยากให้โต๊ะมีคีย์บอร์ดมากกว่า 1 ตัว เพราะมันเกะกะมาก ๆ
ไล่เรียงไปครบทั้ง 4 ข้อแล้ว เราก็มีเลือกคีย์บอร์ดที่ตรงใจ จริง ๆ แล้วมันหลุดเข้ารอบมาไม่กี่รุ่นหรอก แต่อยากเล่าให้ฟังว่าทำไมมาจบที่ Keychorn K6
Epomaker GK68XS
ขอเริ่มจากอันดับ 1 ในใจก่อน จริง ๆ อยากได้รุ่นนี้มากที่สุด มากกว่า K6 ที่ใช้อยู่ตอนนี้ด้วยซ้ำไป แต่ว่าไม่อยากรอเพราะมันต้อง Pre-order แล้วขอน่าจะส่งตามคิวซึ่งคิดดูแล้ว คงได้ใช้คีย์บอร์ดหลังกันยาไปเลย ซึ่งมันนานเกินไป เดี๋ยวค่อยตามซื้อมาใช้ทีหลังละกัน ใครอยากโดนบ้างกดลิงค์ข้างล่างได้เลย
Filco Minila Air
ตัวนี้ชอบเพราะความสวยล้วน ๆ ชอบความดำและการออกแบบของมัน แต่มันเป็นตัวที่ออกมาค่อนข้างนานแล้ว เทคโนโลยีข้างในถือว่าเก่าแล้ว ถึงแม้ว่ามันไม่ค่อยรู้สึกถ้าพูดถึงเรื่องของการใช้งาน จุดที่ไม่ชอบของรุ่นนี้คือ ปุ่ม Backspace และปุ่ม Shift ทางขวา ที่มันมีขนาดเล็กไปหน่อย คิดว่าเวลาพิมพ์น่าจะไม่ถนัด
Royal Kludge RK71
รุ่นนี้ก็หลุดเข้ามาเป็น 1 ในตัวเลือกเหมือนกัน เพราะคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เกือบได้ทั้งหมด พร้อมกับราคาที่ถูกมากเมื่อเทียบกับรุ่นอื่น ๆ แต่ที่ไม่ชอบมันเป็นแค่คีย์เพิ่มเติมที่มีเพิ่มเข้ามาทางด้านขวา ทำไม Layout ของทั้งบอร์ดมันเอียงไปด้านซ้าย จุดนี้เลยทำให้ข้ามรุ่นนี้ไป
Keychorn K6
มาถึงรุ่นที่เราต้องเขียนถึงแล้ว จากทั้งหมดที่เล่ามาทำให้ K6 เป็นตัวเลือกที่ดีและเหมาะสมสำหรับการใช้งาน Keychron เองก็เพิ่งมีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง K6 เลยสั่งจากตัวแทนเลย เพราะจะได้ Keycaps ที่มีภาษาไทยมาให้เลยด้วย (จริง ๆ พิมพ์สัมผัสได้ แต่ก็ยังติด Keycaps ภาษาไทยอยู่ดี)
อุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่องทั้งหมด ประกอบด้วยคีย์บอร์ด K6 ที่มีขนาด 65% ตัวที่วางขายในไทยมีทั้งหมด 2 สีด้วยกันคือ Dark และ Light ซึ่งตัวที่ผมได้มาคือ Dark สังเกตได้จาก Keys อักขระมีสีเข้มกว่า Operation keys ภายในกล่องแถม Keycaps สำหรับการเปลี่ยน Layout เป็น Windows mode และยังมีคีย์อะไหล่แถมมาอีกนิดหน่อย
นอกจากนี้ยังมีสาย USB-C ในการชาร์จแบต รวมไปถึงการเชื่อมต่อแบบมีสาย ตัว K6 เป็นบอร์ดแบบ Hot-swappable หมายความว่าเราสามารถเปลี่ยน Switch ได้โดยที่ไม่ต้องบัดกรีวงจรใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยน Switch เฉพาะบางปุ่มได้อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมกับที่ดึง Keycaps และ Switch
Manual หลัก ๆ ในกล่องที่อยากให้สนใจคือแผ่นสีขาวแผ่นนี้ มันมีรายละเอียดเกี่ยวกับการ Operate K6 เบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อหลายอุปกรณ์ต้องกดอย่างไร การดูสถานะแบตเตอรี่ การเปลี่ยนสีไฟ RGB การเปิด-ปิด Auto sleep mode เป็นต้น
ด้านซ้ายของคีย์บอร์ดมีหน้าตาประมาณนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย USB-C พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อแบบมีสายและการชาร์จแบตเตอรี่ ถัดมาเป็นการสลับการใช้ระหว่าง Mac OS mode กับ Windows mode ซึ่งพอมันเป็นการ Operate แบบ Physical ทำให้มันสะดวกต่อการใช้งานกว่าการกด Function key (อันนี้ความเห็นส่วนตัว) สุดท้ายเป็นสวิตซ์สำหรับสลับการทำงานแบบไร้สาย (Bluetooth) กับแบบมีสาย (Cable) และรวมไปถึงการเปิด-ปิดคีย์บอร์ด
ด้านหลังมีฐานปรับระดับ 1 ระดับเพื่อยกคีย์บอร์ดให้สูงขึ้น ซึ่งพอใช้งานดูแล้วชอบการปรับให้สูงมากกว่า รู้สึกว่าสามารถลดภาระข้อมือระหว่างการพิมพ์ได้ดี
Keycaps ที่ติดมาจากโรงงานเป็นพลาสติกแบบ ABS ซึ่งแน่นอนว่าสามารถเกิด “รอยมัน” ได้ง่ายกว่าพลาสติกแบบ PBT อันนี้เป็นจุดนึงที่อยากติมาก ๆ สำหรับ Keychorn เพราะอยากให้ PBT เป็นค่า Default เริ่มต้นมาจากโรงงานเลย เพราะจากที่ลองใช้งานมา เดี๋ยวคงต้องมีการอัพเกรด เปลี่ยน Keycaps เป็น PBT แน่ ๆ ในอนาคต
Switch ที่ทาง Keychorn เลือกใช้สำหรับติดตั้งในคีย์บอร์ดคือยี่ห้อ Gateron ชื่อเสียงของแบรนด์นี้ไม่ต้องพูดถึงมาก เพราะมีความทนทานสุด ๆ แล้ว โดยที่สามารถเลือก Switch ได้ทั้งหมด 3 แบบคือสีแดง น้ำตาล และน้ำเงิน โดยที่แต่ละแบบมีสไตล์การพิมพ์ที่ไม่เหมือนกันเลย
ตัวที่เลือกใช้งานคือ Brown switch ที่มีการกดทั้งหมด 2 จังหวะแบบ Tactile และไม่มีเสียง Clicky ระดับเสียงอยู่ในระดับกลางจากทั้งหมด 3 ตัว โดยส่วนตัวแล้วยังรู้สึกว่าเสียงการกดยังดังไปบ้าง แต่ยังชอบจังหวะการพิมพ์แบบ Tactile อยู่ ดังนั้นควรหา Switch ยี่ห้ออื่นที่มีจังหวะการกดแบบเดิม และเสียงที่เบาลง ซึ่งแน่นอนว่าสามารถใช้ได้กลับ K6 เพราะมันเป็น Hot-swappable
Conclusion
มาถึงตรงนี้… ขอสรุปไว้เลยว่า K6 เป็นคีย์บอร์ดที่ถูกใจ แต่ยังไม่ทั้งหมด เดี๋ยวคงต้องมีการอัพเกรดเพิ่มเติมนิดหน่อย เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ถ้ามีการอัพเกรดอะไรยังไง เดี๋ยวมาบอกเพิ่มเติม แต่ตอนนี้เอาไว้เท่านี้ก่อน