One-Hot Encoding สร้างตัวแปร Dummies สำหรับ Classification model

Sasiwut Chaiyadecha
3 min readDec 23, 2020

--

One-Hot encoding หรือ One-Hot encoder แล้วแต่ว่าใครสะดวกเรียกในแบบไหน ซึ่งมันคือสิ่งเดียวกัน วันนี้มารู้จักกับการ Transform ข้อมูลในรูปแบบนี้ รวมไปถึงการใช้งานและเมื่อไหร่ที่ต้องใช้งาน One-Hot encoding

One-Hot Encoding dummy variable

การทำงานของ Machine Learning หรืออาจคุ้นเคยกว่าในคำว่า Model ล้วนแล้วแต่เป็นการทำงานบน “ตัวเลข” คงมีบางคนเกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วข้อมูลที่ใส่เข้าไปใน Neural network มันมีทั้งรูปภาพ วีดีโอ เสียง หรือแม้แต่ตัวหนังสือ ข้อความ… จริงอยู่ที่ลักษณะทางกายภาพของข้อมูลเหล่านั้นไม่ใช่ตัวเลข แต่เมื่อส่งผ่านข้อมูลเข้าไปในโมเดล ข้อมูลต้องถูกเปลี่ยนตัวเลข ไม่ว่าวิธีใดก็วิธีหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าการทำงาน Encoding ซึ่ง One-Hot encoding เป็นการ Encoding ในอีกลักษณะหนึ่ง

What is One-Hot encoding?

One-Hot encoding คือการทำข้อมูลที่ถูกเก็บในลักษณะ Categorical ทั้งในลักษณะที่มีลำดับ (Ordinal number) และไม่มีลำดับ (Nominal number) เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของ Binary values ที่มีค่า 0 หรือ 1 เท่านั้น

One-Hot Encoding dummy variable
ตัวอย่างของการทำ one hot encoding

การจัดการกับ Categorical variable สามารถทำได้หลายวิธี แต่วันนี้ขอพูดถึงแค่วิธี One-Hot encoding เพียงอย่างเดียว จริง ๆ แล้วก่อนหน้านี้ เคยเขียนเกี่ยวกับการแปลงข้อมูลอีกประเภทหนึ่ง ในตอนที่ทำ Credit scoring model โดยในครั้งนั้นได้มีการแปลงข้อมูลเป็น WOE ก่อนทำ Logistic regression model สามารถย้อนกลับไปอ่านได้จาก Link ข้างล่าง

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูลด้วยวิธีไหน แต่ใจความสำคัญของเทคนิคนี้คือ การเปลี่ยนข้อมูลให้ดูในรูปตัวเลขสำหรับงาน Machine Learning

Types of One-Hot encoding

One-Hot encoding แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. One-Hot encoding ซึ่งเป็นประเภทที่ได้อธิบายไปแล้วทั้งหมด
  2. Dummy Variable Encoding ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ One-Hot encoding ทั้งหมด แต่แตกต่างกันที่จำนวน Column น้อยกว่า 1 Column

ขอยกตัวอย่างการทำ One-Hot encoding เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น สมมติว่ามีนักเรียนอยู่ทั้งหมด 4 คนคือ A B C และ D นักเรียนแต่ละคนสามารถรับลูกอมได้คนละ 1 เม็ด โดยที่มีลูกอมอยู่ทั้งหมด 3 สีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน

One-Hot Encoding dummy variable
raw data ที่เก็บเป็น categorical
One-Hot Encoding dummy variable
data หลังจากเปลี่ยนเป็น one-hot encoding

ข้อดีของการทำ One-Hot encoding แน่นอนว่าคือการแปลงข้อมูลให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และเข้าใจ Logic ที่เป็นตัวเลขได้ ซึ่งรวมไปถึงการคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ส่วนข้อเสียคือการใช้ทรัพยากรเครื่องที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนข้อมูล เพราะการทำ One-Hot encoding ข้อมูลถูกแปลงให้อยู่ในรูป Sparse Matrix หรือ Matrix ที่ประกอบไปด้วยเลข 0 เป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากข้อมูล Categorical มีหลายประเภท ย่อมทำให้ต้องการ Memory ในการทำงานเยอะขึ้น

pandas.get_dummies()

ใน Python มี Library เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำ One-Hot encoding อยู่หลายตัว โดยตัวแรกที่ขอแนะนำคือ pandas.get_dummies() อย่างที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วว่า Pandas เน้นการทำงานบน DataFrame เป็นหลัก ดังนั้นการทำงานของคำสั่งนี้คือ การแปลง Categorical variable ให้อยู่ในรูปของตาราง 0, 1 ซึ่งสามารถนำไปใช้งานต่อในเชิงการคำนวณ หรือการพัฒนาโมเดลได้

Code ด้านล่างเป็นตัวอย่างการทำ One-Hot encoding ด้วย Pandas

ซึ่งจาก Code ด้านบน ให้ผลลัพธ์เท่ากับตัวอย่างที่วาดรูปเอาไว้ โดยนักเรียนแต่ละคนมีลูกอมคนละสีที่แตกต่างกัน ยังมีวิธีการทำ One-Hot อีกวิธีที่เรียกว่า Dummy Variable Encoding โดยที่จำนวน Column ลดลงไป 1 Column

Code ด้านบนมีการใส่ Option เพิ่มเติมคือ drop_first = True ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้คือ Column One-Hot ที่มีขนาดลดลงไป 1 Column กล่าวคือจะมี Column (0,0) เกิดขึ้นมาเนื่องจากจำนวนสีของลูกอมมีทั้งหมด 3 สี ดังนั้นถ้าไม่ใช่ทั้งสีเขียวหรือสีแดง สีที่เป็นไปได้สีเดียวคือสีน้ำเงิน สามารถดูได้จากตัวอย่างด้านล่าง

sklearn.preprocessing.OneHotEncoder()

Library ต่อมาที่สามารถใช้ในการทำ One-Hot encoding ในภาษา Python ได้เช่นกันคือ Scikit-learn ซึ่งเป็น Library ที่มีชุดคำสั่งมากมายเกี่ยวกับงาน Machine learning โดยคำสั่งที่ใช้จัดการเกี่ยวกับ Categorical variable อยู่ภายใต้ .preprocessing และให้ทำการเลือก .OneHotEncoder()

การทำ One-Hot encoding ของ Scikit-learn มีข้อแตกต่างจาก Pandas อยู่บ้าง เพราะ Library ไม่ได้ Return ค่าออกมาเป็น DataFrame แต่จะเก็บไว้ในรูปแบบของ Encoder แทน ดังนั้นถ้าต้องการให้ผลลัพธ์จากการทำ One-Hot encoding ออกมาอยู่ในรูปของ DataFrame เพื่อใช้ทำงานต่อ ๆ ไป อาจต้องมีขั้นตอนการดึงค่าออกมาเพิ่ม

การใช้งาน OneHotEncoder() จาก Scikit-learn ถ้ามีข้อมูลมีเพียง 1 มิติ (Feature ที่ต้องการเปลี่ยนเป็น One-Hot มี Column เดียว) ต้องมีการ .reshape() ให้อยู่ในรูป 1 มิติก่อนเริ่มทำงาน โดยให้ค่าเป็น (-1, 1)

เนื่องจากต้องการเก็บค่า Encoder เอาไว้เพื่อใช้สำหรับข้อมูลในครั้งต่อไป ดังนั้นจำเป็นต้องมีการ .fit() ข้อมูลก่อนที่จะ .transform() ถ้าใช้คำสั่ง .fit_transform() ไปทีเดียวเลย จะไม่สามารถเก็บ Encoder ระหว่างทางได้ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาอยู่ในรูปของ Numpy array ก็สามารถเปลี่ยนเป็น DataFrame เพื่อใช้ในการต่อไปได้เช่นกัน

ใน OneHotEncoder() ก็สามารถทำ Dummy Variable Encoding ได้เช่นกัน โดยใส่ Option drop = ‘first’ ค่า Return ที่ออกมาจะได้เหมือนกับ drop_first = True จาก Pandas

ข้อดีของการใช้ .OneHotEncoder() จาก Scikit-learn คือสามารถเก็บลักษณะการ Encode เพื่อใช้กับชุดข้อมูลอื่นได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสร้าง DataFrame อย่างที่ Pandas ทำ

จากตัวอย่างใหม่ โดยให้มีนักเรียนใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 4 คน และให้มีลูกอมคนละสีเหมือนเดิม แต่ต่างจากข้อมูลก่อนหน้านี้คือลูกอมมีเพียง 2 สีคือ สีแดงและสีเขียวเท่านั้น ถ้าต้องใช้ Encoder จากที่เคยใช้กับข้อมูลก่อนหน้านี้กับข้อมูลชุดใหม่ สามารถใช้ encoding ตัวเดิม และใช้ .transform() ข้อมูลใหม่ได้เลย ผลลัพธ์จากการ Encoding ที่ออกมา จะถูกอ้างอิงจากข้อมูลชุดเดิม

array([[0., 0., 1.],
[0., 0., 1.],
[0., 1., 0.],
[0., 1., 0.]])

ในทางกลับกัน ถ้าใช้ pandas.get_dummies() ผลลัพธ์ที่ออกมาจะถูกคำนวณบนข้อมูลชุดใหม่เท่านั้น ข้อมูลชุดใหม่ไม่มีลูกอมที่เป็นสีน้ำเงิน ดังนั้น Column One-Hot จึง Return ค่าออกมาเพียง 2 Columns เนื่องจากการทำงานของทั้ง 2 คำสั่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน การใช้งานควรคำนึงถึงผลลัพธ์สุดท้ายเสมอ

Conclusion

สำหรับตัวอย่างการทำ One-Hot encoding ด้วย Pandas และ Scikit-learn สามารถจบลงสั้น ๆ ได้เพียงเท่านั้น ส่วนการเก็บค่า Encoder สามารถใช้ Pickle ในการเก็บการเข้ารหัสไว้ได้ ซึ่งคงมีโอกาสแนะนำในครั้งต่อ ๆ ไป

--

--