[Blog] Review GMK LASER KEYCAP
Such an expensive parasitic.
Keycap มันเป็นเหมือนหน้าตาของ Keyboard ไม่ว่าภายในตัว Keyboard จะแต่งมาเต็มแค่ไหน แต่จุดเด่นมากกว่าครึ่งมันก็อยู่ที่ Keycap เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เลยต้องขอลงทุนกับ Keycap แบรนด์แพง ๆ อยากรู้ว่าเมื่อใช้งานแล้วจะได้ความรู้สึกยังไง
GMK
GMK คืออะไร หลายคนอาจเข้าใจ หรือเคยได้ยินชื่อ GMK เป็นบริษัทที่ผลิต Keycaps สำหรับ Custom keybaord แต่จริง ๆ แล้วบริษัทสัญชาติเยอรมันนี้ ผลิตเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ High-end ต่าง ๆ รวมไปถึงผลิต Software ด้วย Keycaps เป็นเพียง 1 ใน Lines การผลิตเท่านั้น
GMK LASER
GMK LASER เป็น Keycaps ที่ได้รับความนิยมมากตั้งแต่ตอนเปิดตัวเมื่อที่แล้ว จนทำให้ต้องการนำกลับมาผลิตอีกรอบ หรือเรียกว่า Round 2 (R2) ซึ่งรอบนี้ดูเหมืองจำนวนการผลิตมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ เพราะไม่จำเป็นต้อง Pre-order แต่สินค้ามี In-stock พร้อมขายตลอดเลย
GMK LASER ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจาก Cyberpuck ผลิตจากพลาสติก ABS ที่มีการลงสีตัวหนังสือแบบ Doubleshot ทำให้หายห่วงเรื่องความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนานแน่นอน GMK LASER เป็น Keycaps ที่มีลักษณะเป็น Cherry profile ซึ่งเป็น Profile ที่ใช้งานกันเป็นส่วนมากอยู่แล้ว
ชุด Base ของ R2 นี้ผลิตออกมาเป็น 2 Design หลักคือ Cyberdeck (ทางซ้าย) และ Synthwave M170 (ทางขวา) ซึ่งอาจคุ้นตากับ Design ของ Cyberdeck มากกว่า เพราะเป็น Design คลาสสิคของ GMK LASER
อ่านมาถึงตรงนี้… อาจมีคำถามเกี่ยวกับพลาสติกที่ใช้ทำ Keycaps ว่าแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึง Profile แต่ละชนิดว่ามีใช้งานกับแบบไหนบ้าง เนื้อหาทั้งหมดเคยเขียนไว้ใน Blog นี้แล้ว สามารถอ่านได้จาก Link ด้านล่าง
Review
แกะกล่องที่เดินทางมาจากอเมริกา ก็ได้เห็นหน้าตาของ GMK LASER เนื่องจากการเดินทางอาจทำให้การเรียง Keycap ไม่เหมือนเดิมไปบ้าง แต่ไม่มีอะไรเสียหายแน่นอน
วัสดุที่ใช้ทำ Keycap แบรนด์ GMK เป็นพลาสติกแบบ ABS ที่ใช้การทำสีแบบ Doubleshot (Double-Injection) ที่เหมือนการฉีดพลาสติก ย้ำว่าฉีดพลาสติก ไม่ใช่สี เข้าไปอีกชั้นในตัว Keycap จึงเหมือนว่า Keycap มีพลาสติกทั้งหมด 2 ชั้นด้วยกัน วิธีการทำสีแบบนี้ ทำให้สีติดทนนาน รูปตัวอย่างที่หามาด้านล่าง แสดงวิธีการทำสีแบบ Doubleshot
หลายคนอาจได้ยินการทำสีแบบ Dry-sub (Dye Sublimation) ที่เป็นที่นิยมเช่นกันสำหรับการทำสี Keycap ซึ่งส่วนมากพอเจอใน Keycap ประเภทที่เป็นพลาสติก PBT มากกว่า ซึ่งทั้งสองวิธีมีการทำสีไม่เหมือนกัน โดยที่ Dry-sub จะเป็นการฉีดสีลงไปในเนื้อพลาสติก ซึ่งแน่นอนว่าสีที่ได้มีความคงทนเช่นกัน แต่ข้อเสียที่ด้อยกว่า Doubleshot คือตัวอักษรใน Keycap จากการทำสีแบบ Dry-sub อาจมีความคมชัดไม่เท่า Doubleshot
รูปด้านบนเป็นการเปรียบเทียบการทำสีของทั้งสองแบบที่เคยใช้งานมา ด้านซ้ายคือ GMK LASER ที่เป็นการทำสีแบบ Doubleshot ส่วนด้านขาวเป็น EPBT BoW ที่เป็นการทำสีแบบ Dry-sub เห็นได้อย่างชัดเจนว่า GMK LASER มีตัวอักษรที่คมกว่า
ต่อมาเป็นเรื่องของเนื้อพลาสติก GMK LASER เป็น ABS ที่มีความแข็งมากกว่า และด้วยความหนาที่พอ ๆ กับ PBT ทำให้สัมผัสในการพิมพ์ออกไปทางแข็งนิ้วสู้มือกว่าการ EPBT BoW
เรื่องสุดท้ายคือข้อดีของพลาสติก ABS ที่เป็นข้อได้เปรียบพลาสติก PBT คือความแข็งแรง เพราะถ้าเคยใช้ PBT อาจพบกับปัญหา Spacebar งอ ปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของการผลิตแต่อย่างใด แต่มันเป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างวัสดุ เพราะ PBT มันเสียรูปได้ง่ายกว่า และยิ่ง Keycap ที่ขนาดยาว ๆ แบบ Spacebar จึงทำให้มีโอกาสงอได้มากกว่าเช่นกัน
สุดท้ายเป็นการลองใส่ GMK LASER กับ TOFU65 ที่ใช้อยู่ รู้สึกว่ามันช่วยดึง Keyboard เรียบ ๆ ให้มีชีวิตชีวามากกว่าเดิม
แต่จากที่อ่านมาทั้งหมด ไม่อยากให้เอา ABS ของ GMK ไปเปรียบเทียบกับ ABS ราคาถูกของเจ้าอื่น ๆ เช่น Keychron เพราะมันไม่เทียบกันไม่ได้เลย ตั้งแต่สัมผัสที่ได้รับจาก GMK มีทั้งความหนา ความแน่น และไม่ “ลื่น” เหมือน ABS ราคาถูกแน่นอน
ที่กล้าการันตีแบบนี้เพราะว่า ส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ไม่ชอบ Keycaps ลื่น ๆ เลย ทำให้ฉีกไปใช้งาน Keycaps ที่ทำจากพลาสติก PBT อยู่พักใหญ่ เพราะ PBT ให้ความสากนิ้วมากกว่า แต่เมื่อได้ลอง ABS ที่เกรดดีหน่อย ทำให้รู้ว่า ABS ที่ดีมันมี “ความลื่นที่กำลังพอดี” ความรู้สึกอาจไม่ได้สากนิ้วได้ดั่งใจเหมือน PBT แต่มันยังให้ความสากในระดับที่รับได้อยู่
แต่ความแน่น ความแข็งแรง สีสันที่สดใส ที่ PBT ไม่มีทางทำได้ เพราะถ้าสังเกตดู Design ของ PBT จะออกแนวสีเรียบ ๆ ขาวดำ หรือเน้นสีโทนอ่อนไปเลย เพราะเนื่องจากเนื้อพลาสติกไม่สามารถผลิตสีสดได้เท่า ABS ดังนั้นสามารถ ABS ที่ราคาแรงหน่อย ให้สัมผัสที่ดีกว่าแน่นอน
Drop.com
Set นี้เป็นกดการซื้อของจาก Drop.com ครั้งแรกเหมือนกัน Drop คือ Community และเป็น Merchandise ที่ขายของเล่นแบบ Boy toy ไม่ได้มีเฉพาะแค่ Keyboard เท่านั้น ยังมีหูฟังและอย่างอื่นอีกมากมายให้เลือกเสียเงิน
แต่สิ่งที่อยากเล่าให้ฟังคือระบบ Backend ของ Drop ที่ค่อนข้างแปลก เพราะระบบการซื้อขายใช้เป็นการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตทั่วไป เหมือนการซื้อของออนไลน์ปกติ แต่สิ่งที่แปลกไปคือ หลังจากที่ชำระเงินแล้ว ธนาคารตัดบัตรเรียบร้อยแล้ว ที่หน้าเว็บของ Drop จะยังไม่มีรายการ Order ของเราเกิดขึ้น ไม่มีแม้กระทั่ง Record order หรือ Status ต่าง ๆ เช่นรอการ Verify transaction หรือรอการ Confirm order เรียกได้ว่าเงียบไปเฉย ๆ
หลาย ๆ คนมีการสอบถาม รวมไปถึง Complain ระบบเช่นนี้ของ Drop สำหรับใครที่กำลังจะสั่งของจาก Drop เป็นครั้งแรก อยากให้เข้าใจระบบแบบนี้ไว้ก่อน เพราะ Transaction หรือข้อมูลต่าง ๆ ของ Order จะปรากฎขึ้นเว็บประมาณ 2–3 ชั่วโมงหลังจากที่ทำรายการ โดยส่วนตัวคือว่า ระบบควรทำให้ดีกว่า เช่น การเพิ่ม Status รออการ Verify transaction เพราะอย่างน้อยผู้ซื้อก็ยังพอได้รู้ว่าคำสั่งซื้อสำเร็จ ไม่ได้มีปัญหาที่ส่วนอื่น ๆ