[Blog] Review Keychron Q1
Review Keychron Q1 with modification
ไม่ต้องพูดเยอะหลายคนก็คงรู้จักกับแบรนด์ Keychron กันเป็นอย่างดีแล้ว ถือเป็นแบรนด์ Mechanical keyboard แรก ๆ ที่เริ่มขายแบบจริงจัง ย้อนไปเมื่อประมาณปีหรือ 2 ปีที่แล้ว Keychron ได้ออกบอร์ดซีรี่ย์ “K” ที่เป็นบอร์ดกึ่งสำเร็จรูป สามารถเปลี่ยน Switch เปลี่ยน Keycaps หรือปรับแต่งเองได้นิดหน่อย ตอนนั้นถือว่าได้กระแสตอบรับที่ดีมาก และมันก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการคีย์บอร์ด
มาถึงปีนี้ Keychron ได้ออกบอร์ดซีรี่ย์ใหม่คือซีรี่ย์ “Q” ถือว่าเป็น Custom keyboard ที่สามารถปรับแต่งเองได้หมดทุกอย่าง ซึ่งเนื้อหาของ Blog ตอนนี้จะเป็นการเล่าเรื่องกึ่ง Review ของบอร์ด Keychron Q1
Keychron Q1
Keychron Q1 เป็นบอร์ดขนาด 75% ที่ไม่มีปุ่ม Numpad แต่มีแถว Function keys (F1-F12) มาให้ ถ้าไม่นับ RK84 ตัวที่ซื้อมาใช้งานแบบลุย ๆ ก่อนหน้านี้ Keychron Q1 ถือว่าเป็นบอร์ดขนาด 75% ตัวแรกที่เป็น Custom keyboard
Q1 ใช้ CNC Aluminum สำหรับส่วนที่เป็น Case มีอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต้องมีสำหรับ Custom keyboard เช่น Swich, Stabilizers, Keycaps รวมไปถึงให้แผ่นโฟมซับเสียงแบบ “ตรงรุ่น” มาด้วยเลย ไม่จำเป็นต้องซื้อแยกหรือตัดเอง ที่สำคัญมีสายแบบม้วนที่เห็นใน Youtube คลิป Desk tour ต่าง ๆ แต่เรื่องคุณภาพไม่ต้องพูดถึง ถือว่าไม่แย่แต่ก็ไม่เอามาใช้งาน
Plate ของ Q1 ที่ให้มาเป็น Aluminum plate แต่มี Plate วัสดุอื่นขายแยกเพิ่มเติม ถ้าเป็นของ Offcial จะมีเป็น Brass และ FR4 หรือถ้าเป็น Unoffcial เคยเห็นที่เป็น Polycarbonate ขายด้วยเช่นกัน PCB ยังคงเป็นแบบ Hot-swappable ที่รองรับ QMK/VIA แล้ว (ในที่สุด!) และจุดแข็งของ Keychron ยังคงเหมือนเดิมคือการรองรับการใช้งานทั้ง Windows, macOS และ Linux (มีหลาย Layout ให้สลับใช้งาน)
การ Mounting ของ Q1 เปลี่ยนจากซีรี่ย์ K ที่เป็น Bottom mount มาใช้เป็น Gasket mount ตามที่เป็นกระแสนิยมในตลาดตอนนี้ สิ่งที่ Keychron เคลมคือความเป็น Flexible ที่บอกว่ามีความยืดหยุ่นมากที่สุดตัวนึงในท้องตลาด
จบการรีวิวแบบสั้น ๆ เท่านี้… เริ่มต้นประกอบคีย์บอร์ด
Modification
Case
Case ถือว่าเป็นส่วนที่มีปัญหาเยอะที่สุดใน Keychron Q1 จาก Review ที่อยู่ใน Youtube บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า Case ที่ทำมาจากวัสดุ CNC Aluminum มันให้เสียง Pingy noise หรือเสียงที่เกิดจาก Aluminum กระทบกันเป็นเสียงกิ๊ง ๆ สิ่งที่สามารถช่วยได้ คือการใส่วัสดุบางอย่างเพื่อกันไม่ให้ Case สัมผัสกันโดยตรง
ใน Review ของต่างประเทศส่วนมากนิยมใช้เป็นแผ่นซิลิโคน แต่ค่อนข้างหายาก ดังนั้น Mod นี้จึงใช้เป็น Leak seal (แลคซีน) เพื่อติดระหว่าง Case แทน บริเวณที่ควรติดแนะนำเป็นบริเวณด้านล่างและด้านบนของ Case เพราะเป็นส่วนที่หนากว่าส่วนอื่น ๆ ทำให้เกิด Pingy noise ได้ง่าย
Stabilizer
Stabilizer เป็นส่วนที่ Effect กับ Keyboard มากที่สุด สามารถย้อนกลับไปอ่านวิธีการ Mod stabilizer ที่เคยแชร์ไว้ในตอนก่อนหน้านี้ สำหรับ Stabilizer ที่ติดมากับ Keychron Q1 อาจไม่ได้มีคุณภาพเทียบเท่ากับรุ่นที่ต้องซื้อแยก แต่คุณภาพที่ได้บอกได้ว่า “ไม่แย่” เลย เพราะเพียงแค่นำมา Mod เพิ่มเติมนิดหน่อย ก็สามารถใช้งานได้ดีแล้ว
สำหรับ Mod นี้เลือกใช้น้ำยาพลาสเตอร์ ทาลงไปที่เหล็กของ Stabilizer ก่อนทาน้ำมันลูป เพื่อให้มี Layer ปกป้องการกระทบกันของพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ที่ไม่ได้ทำ Holee mod เพราะว่า Stabilizer มี Pre-lube มาแล้วจากโรงงาน ทำให้ล้างน้ำมันออกได้ยากหน่อย Holee mod เลยติดไม่ได้แน่นเท่าที่ควร
สิ่งที่ต้องซื้อเพิ่มเติมในส่วนของ Stabilizer คือสติ๊กเกอร์รองใต้ฐาน เพราะ Keychron Q1 ไม่ได้มีแถมมาให้ (แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่จำเป็น)
Switch
มีความตั้งใจว่าอยากประกอบคีย์บอร์ดตัวนี้เป็นแบบ Budget เลยไม่ได้อยากลงทุนที่ Switch มากมาย โจทย์คือขอแค่เป็น Linear และราคาสมเหตุสมผลเท่านี้เป็นใช้ได้ ถ้าพูดถึง Switch ที่มีความคุ้มค่าแล้ว ในตลาดคงหนีไม่พ้นกับ Gateron milky yellow เลยตั้ง #WTB เข้าไปในกรุ๊ป Thailand Mechanical Keyboard Community สิ่งที่ได้กลับมาไม่ใช่ Gateron milky yellow แต่เป็น Gateron milky top yellow
สิ่งที่ Gateron milky top yellow แตกต่างจาก Gateron milky yellow คือ Bottom housing โดยที่ของ Gateron milky top yellow ใช้เป็นวัสดุ Nylon ซึ่งแตกต่างจาก Gateron milky yellow ที่เป็นวัสดุ Plastic mix แบบทั้ง Switch เสียงที่ได้มีความใกล้เคียงกันมาก แต่มีความต่างกันอยู่นิดหน่อยคือ Gateron milky yellow ให้เสียง Thock แบบแน่น ๆ แต่ Gateron milky top yellow ออก Thock เหมือนกัน แต่มีเสียงแหลมกว่านิดหน่อย
ได้มาในราคาค่อนข้างดี รวม Lube + Film แล้วได้มาตัวละ 11 บาท ข้อเสียหลักที่เจอของ Gateron milky top yellow คือขา Switch มันค่อนข้างอ่อน เวลาประกอบเข้าไปที่ Hot-swap socket ของ PCB ถ้าเล็งไม่ดีจะเบี้ยวง่ายมาก แต่โดยรวมถ้าเทียบกับราคา ถือว่าพอใจมาก
Foam and tape mod
Foam ส่วนแรกคือบริเวณระหว่าง Case และ PCB ถ้าเป็น Keychron Q1 ที่มาจากโรงงานจะมีเป็นโฟม 2 ชิ้น ประกอบไปด้วยชิ้นบางและชิ้นหนา สาเหตุที่ต้องแยกมาเป็น 2 ชิ้น เพราะคิดเผื่อลูกค้าแล้วว่า ถ้าต้องการความ Flex เพิ่มขึ้น ก็สามารถถอดโฟมบางชิ้นออกได้
แต่ด้วยปัญหา Case ที่มีเสียง Pingy ทำให้การใส่โฟมในลักษณะนี้ ไม่ได้ช่วยลดปัญหาเสียงเลย ดังนั้นจึงเปลี่ยนเป็น EVA โฟม ขนาดความหนา 4mm เป็นชิ้นเดียวแทนที่โฟมเดิมที่ติดมาใน Keyboard การใส่โฟมหนาแบบนี้ทำให้ความ Flexible หายไป แต่เสียงที่ได้กลับมาดีกว่ามาก
Foam ส่วนที่ 2 คือบริเวณระหว่าง PCB และ Plate ใช้เป็น PE Foam ธรรมดา หาได้ทั่วไปจากโฟมที่ร้านค้าออนไลน์นำมาใช้ห่อสินค้า ส่วนมากมีขนาดหนา 1mm เป็นความหนาที่สามารถใช้ Switch เสียบทะลุได้เลยโดยไม่ต้องเจาะโฟม
ปิดท้ายใต้ PCB ด้วย Tape mod เพื่อให้เสียงมีความ Thock มากที่สุด
Conclusion
เขียนมาถึงตรงนี้คงได้เห็นการประกอบ Keychron Q1 กันอย่างละเอียดแล้ว โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า Keyboard เหมาะสำหรับการใช้งาน ด้วยความที่เป็น 75% เป็น Layout ที่เหมือน Notebook และมาพร้อมกับฟังก์ชั่นที่ครบถ้วน เคยลองพยายามใช้ขนาด 65% ในการทำงานแล้วพบว่าการกด Function keys ด้วยปุ่ม fn มันเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ดังนั้นจึงเลิกพยายามปรับตัวแล้ว ขีดเส้นแบ่งชัดเจนเลยว่า บอร์ดที่ใช้ส่วนตัวต้องเป็นขนาด 65% และบอร์ดที่ใช้ทำงานต้องเป็น 75% เท่านั้น
แต่สำหรับคนที่ใช้ Keyboard เป็น Serious hobby อาจมีข้อติสำหรับ Keychron Q1 เยอะพอสมควร สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือวัสดุ CNC Aluminum ในส่วน Case ของ Keychron Q1 พบว่ามี Noise ที่เยอะมาก ทำให้ต้อง Mod ด้วยการอัดโฟม ติดเทป มากพอสมควร แต่ทั้งหมดมันไม่ได้ทำให้ Noise ที่น่ารำคาญนี้หายไป แต่มันช่วยให้ Noise มีไม่เยอะจนน่าเกลียด
เรื่องต่อมาอาจเป็นเรื่อง Plate flexibility ตามโฆษณาคือ Plate มีความ Flex ที่ค่อนข้างเยอะ แต่ทั้งหมดนี้คือ Default mod มาจากโรงงาน ถ้าต้องการให้มีความ Flex เท่าเดิม ต้องเปลี่ยนโฟมรองใต้ Case ให้มีความบางลงมาหน่อย แต่แน่นอนว่าเสียง Noise กลับมาแน่นอน
สรุปเลยสำหรับ Keychorn Q1 โดยรวมถือว่าเป็น Daily driver ที่น่าสนใจ ไม่ต้องบำรุงรักษามาก สามารถใช้งานได้ยาว ๆ