[Blog] KBDfans Tiger 80
The perfect beginner TKL keyboard? | Tiger 80 Review

กลับมาอีกครั้งสำหรับการประกอบคีย์บอร์ด หลังจากที่หายกันไปนานพอสมควร เนื่องจากไม่ได้ซื้ออะไรเพิ่มเติมเลย แต่คีย์บอร์ดตัวนี้เป็นตัวที่อยากได้มาสักพักแล้ว เพราะกำลังมองหาคีย์บอร์ดเอาไว้ทำงานที่บ้านหลังใหม่ เลยอยากหาบอร์ดทรงใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาใช้งาน
ถ้าติดตาม Blog มาสักพักนึง อาจพอรู้ว่าชอบบอร์ด Layout 65% ที่สุด เพราะใช้งานได้ชินมือ ไม่มี Function keys และถนัดที่สุดแล้ว มี Boop65 เป็นตัวที่ใช้งานหลักอยู่ ถัดมาคือ 75% ซึ่งก็มี Keychron Q1 ที่มีไว้ใช้งานเช่นกัน Keyboard ตัวต่อมาจึงอยาก Layout ที่ไม่เคยมีมาก่อนคือ TKL ย่อมาจาก Ten Keys Less หมายความว่าเป็นบอร์ดที่ทรงเกือบมาตรฐาน แต่ตัด Numpad ออกไปทั้งหมด Ten Keys ที่หายไปที่ว่าคือหมายถึงเลข 0–9 นั่นเอง
Tiger 80

ก่อนที่จะมาจบที่ Tiger 80 ก็มีการค้นหาบอร์ด TKL หลายตัวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Eighty-Mode Designs หรือเป็น RAMA WORKS U80-B แต่ต้องยอมรับว่าหลัง ๆ ไม่ได้จ่ายเงินให้คีย์บอร์ดเยอะ ๆ เหมือนแต่ก่อนแล้ว และทั้งสองตัวที่ว่ามานี้ มีค่าตัวที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงเปลี่ยนไปมองหา Budget keyboard สำหรับผู้เริ่มต้นดีกว่า จังหวะพอดีกับที่ KBDfans มีจัดฉลองครบรอบ 6 ปี ทำให้ค่าจัดฟรีทั่วโลก (จากเดิมเคยจ่ายเกือบพัน) เมื่อคิดทุกอย่างแล้ว จึงเลือกเป็น KBDfans Tiger 80 เพราะน่าจะคุ้มค่าคุ้มเงินที่สุดแล้ว
หลบค่าส่งทั่วโลกได้ แต่มาโดนภาษีที่ไทย เท่า ๆ กันค่าส่ง
Specification

ข้อมูล Spec ทั้งหมดที่ Copy มาจาก KBDfans แต่มีเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้เป็นข้อ ๆ ตามด้านล่าง
- Layout: 80% (หรือที่เรียกว่า TKL)

- PCB: Hotswapable, Flex Cut, 1.2 mm thickness, RGB underglow, QMK firmware, USB-C interface (PCB ขนาด 1.2mm มาพร้อมกับ Hot-swap และ Flex cutting เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่สมัยใหม่มาก)

- Case: Top and Bottom Aluminum Case (ไม่มี Weight เสริม)

- Plate: Injection plate, Polycarbonate (Plate มีวัสดุเดียวให้เลือก)
- Structure: Leaf spring mount (จริง ๆ คือ Gasket mounting ปกติ แต่ใช้เป็น Silicone socket ไม่ได้เป็นแผ่น Poron ติดที่ Plate เฉย ๆ)
- Typing angle: 7° (มาตรฐาน)
- Weight: around 1.2 kg (ถือว่าเบาหากเทียบกับ TKL ทั่วไป)
- Compatibility: MX-type switches (ปกติ)
- keyboard Size: 358 mm x 134 mm
- Tape Mode Size: 347 mm x 116 mm
- Designer: Wei
ต่อมาเป็นของทั้งหมดที่มีมาให้ในกล่อง ให้มาแบบครบถ้วนสามารถประกอบแล้วใช้งานได้เลย อาจมีบางส่วนที่ต้องสั่งเพิ่มเติมบ้าง ในตอนท้าย Blog มีเขียนไว้แล้ว

- Aluminum Top and Bottom case x1

- Polycarbonate plate x1

- PCB x1

- PCB foam x1

- Switch pads x1 (ให้ Pads รองระหว่าง Switch กับ PCB มาด้วย ไม่ต้องตัด PE Foam เองแล้ว)

- Silicone socks set x1 (อันนี้ไว้ใช้ทำ Leaf spring mount)

- Designed tape mod x1
- Cherry stabs kit x1
- Stabilizer shims x1 (เอาไว้รองสำหรับ 1.6mm Stabilizer)

- Carrying case x1 (มีเคสตรงรุ่นมาให้ด้วย)

- USB-C cable x1
- Rubber feet x1
ASSEMBLE
Switch

พอประกอบเป็น Budget keyboard เลยไม่อยากเสียเงินอะไรเพิ่มเติมมาก จังหวะพอดีกับที่ว่ายังมี Switch keyboard อันเก่าอย่าง Alpaca V2 ที่ถอดออกจาก Boop65 ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็น Epsilon เหลืออยู่ประมาณ 67 ตัว ดังนั้นซื้อ Alpaca V2 เพิ่มอีก 20 ตัว ก็จะได้เป็นทั้งหมด 87 ตัว พอดีสำหรับใส่ Tiger 80 ที่เป็น Layout TKL สำหรับ Alpaca V2 มีการ Lube เพิ่มเติมและใส่ Film Deskeys เพื่อให้เสียงที่แน่นขึ้นกว่าแบบ Stock
Stabilizer
TL;DR: TX Stabilizer 1.6mm ใช้ไม่ได้ ไม่ต้องพยายามใส่

Tiger 80 ต้องการใช้ Keyboard stabilizer ทั้งหมด 5 คู่ และ 1 ใน 5 คู่นั้นจำเป็นต้องมีขนาด 7u สำหรับ Spacebar เนื่องจากไม่ได้ซื้อใหม่ยกชุด แต่มีอะไรว่างอยู่กับหยิบมาใช้งาน สุดท้ายหยิบได้เป็น Staebies 2 คู่ และ C3 Stabilizer อีก 3 คู่

จุดที่น่าสนใจของ Tiger 80 คือ PCB ที่มีความหนา 1.2mm ซึ่งเป็นขนาดใหม่ที่เริ่มใช้กันใน Keyboard ที่ออกมาช่วงปีหลัง ๆ มานี้ เพราะว่ากันว่าให้ความ Flex มากกว่าเดิม แต่เนื่องจาก Stabilizer ที่มีอยู่แล้วนั้นเป็นขนาดที่ใช้กับ PCB ที่มีความหนา 1.6mm ที่เป็นขนาดเริ่มต้น (ขนาดเดิม) สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการ Build ครั้งนี้คือ Stabilizer shims หรือคือแผ่นรองใต้ Stabilizer เพื่อให้มีความหนาเพิ่มขึ้น ให้สามารถใส่กับ Stabilizer ขนาดเดิมได้
อาจมีคำถามขึ้นว่า Clip-in stabilizers อย่าง TX Stabilizer ที่มีขนาด 1.6mm สามารถใช้คู่กับ Stabilizer shims ได้หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่ได้” หลังจากที่พยายามลองใช้ TX Stabilizer อยู่นานทำให้ค้นพบว่า บริเวรณรูของ PCB ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อ Clip-in stabilizers ที่ขนาดไม่พอดี เพราะเมื่อใส่เข้าไปแล้วมันจะหลวม ดังนั้นแนะนำว่าให้ใช้เป็น Screw-in stabilizers ดีกว่า
หรือถ้าต้องการใช้ Stabilizer ที่แถมมาในชุดอย่าง Cherry stabilizer ก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน แต่อาจต้องมีการปรับแต่งเพิ่มอีกพอสมควร ซึ่งแนวทางสำหรับการปรับ Stabilizer ที่เคยเขียนไว้ สามารถอ่านได้ที่ Link นี้
และทางที่ดี… แนะนำว่าหา Stabilizer ที่มีขนาดพอดีกับ PCB ที่ 1.2mm ดีกว่า เพราะว่าการใส่ Stabilizer shims ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และสุดท้ายการที่จะแกะ Stabilizer shims ออกจากแผง แนะนำให้ใช้เป็นกรรไกรตัด ไม่ควรใช้มือหัก เพราะมันจะทำให้ Stabilizer shims หักตามไปด้วย
Custom tape mod

ต้องยอมรับว่าช่วงหลังมานี้ Tape mod หรือ Tempest tape mod เป็นสิ่งที่หลายคนเลือกใช้งานจนเกือบ 100% เพราะผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่ามันช่วยให้เสียงพิมพ์ Keyboard ดีขึ้นจริง ๆ KBDfans อาจมองเห็นจุดนี้จึงเพิ่ม Service ให้สามารถ Custom tape ให้เป็นลวดลายของตัวเองได้
ถ้าหากไม่ได้ส่งไฟล์หรือเลือกลวดลาย KBDfans จะส่งเป็นลายมาตรฐานมาให้แทน ซึ่ง Keyboard build นี้ก็ไม่ได้ใช้ Custom tape แต่อย่างใด เนื่องจากเวลาประกอบกับ Case ที่ Aluminum แล้วก็ไม่สามารถมองเห็นลวดลายที่ทำมาได้ ดังนั้นจึงใช้เป็นเทปย่นทุกทีที่เคยใช้มา แต่ถ้ามีเคสที่เป็นพลาสติกโปร่งเหมือย Tiger lite แนะนำว่าใช้เป็น Custom tape แล้วบอร์ดจะดูดีขึ้นมาก
Force break mod

จุดอ่อนที่เจอกันเยอะใน Entry keyboard หรือ Budget keyboard คือ Aluminum case ที่อาจไม่ได้ผลิตจากวัสดุ High-end มากนัก ทำให้เกิดเสียงก้องภายในตัวบอร์ด Keyboard ตัวแรก ๆ ที่ประสบปัญหานี้คือ Keychron Q1 เพราะเป็นแบรนด์แรก ๆ ที่ลงมาเล่นตลาด Entry และเปิด Option ให้สามารถ Custom ได้ ทำให้ต้องลงต้นทุนในการผลิตลงไปเยอะ จนมีผลกระทบกับวัสดุที่ใช้ในการทำเคสขึ้นมา

แต่ในช่วงหลังมานี้ Budget keyboard เริ่มมีให้เลือกเยอะขึ้น รวมถึงไป Tiger 80 เองก็เช่นกัน ทำให้มีปัญหาเคสกระทบกับแล้วเกิดเสียงก้อง วิธีการแก้ปัญหาจุดนี้อย่างง่ายคือ การใส่วัสดุ “คั่น” ไประหว่างเคสบริเวณที่รูสำหรับขันน็อต เพื่อช่องว่างเล็ก ๆ ให้เคสไม่ได้กระทบกันตรง ๆ จนเกิดเป็นคำศัพท์ในวงการว่า Force break mod
สำหรับ Tiger 80 อาจไม่ได้มีปัญหาเท่ากับ Keychron Q1 แต่ก็ยังแนะนำให้ทำอยู่ดี เพราะ Case ที่มีให้เป็น Aluminum ที่ค่อนข้างบาง บริเวณที่ขันน็อตยังเกิดเสียงได้อยู่
Poron foam
หากดูจาก Including list ของ Tiger 80 แล้ว ค่อนข้างแปลกใจที่ให้ PCB Foam และ Switch pads มาด้วย แต่ไม่มี Case foam มาให้ เพราะในปัจจุบันแทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ Keyboard แล้ว สิ่งที่แนะนำได้คือให้สั่ง Poron foam แยก เพื่อนำมาใส่คั่นระหว่าง Bottom case และ PCB เพื่อให้เสียงมีความแน่นขึ้น

สาเหตุที่แนะนำเป็น Poron foam ความหนา 2–2.5mm เพราะต้องการให้มี Flex เหลืออยู่บ้าง เพราะถ้าเป็นวัสดุอื่นเช่น ซิลิโคน หรือ EVA Foam ที่หนากว่านี้ อาจทำให้เสียความ Flex ทั้งหมดไป ความยาวของ Poron foam สามารถใช้ขนา TKL ได้ตามปกติ ส่วนความกว้างแนะนำที่ 12cm เพราะควรเหลือพื้นที่ไว้ให้ Leaf spring mount
Conclusion

เรื่องเล่าเกี่ยวกับ Tiger 80 มีทั้งหมดประมาณนี้ เขียนเกี่ยวกับความรู้สึกที่ได้ลองใช้งานกันบ้าง อย่างแรกเลยคือ Tiger 80 เป็นบอร์ดตัวแรกที่ได้ลองใช้ Polycarbonate plate และใช้งานคู่กับ Alpaca V2 บอกได้เลยว่าชอบมาก เป็นเหมือนสัมผัสและเสียงที่หามานาน แน่นอนว่าบอร์ดตัวต่อ ๆ ไปคงเลิกใช้ Brass plate ไปเลย เพราะติดใจกับ Polycarbonate plate ไปแล้ว
เรื่องต่อมาเป็นเรื่องของ TKL Layout ที่เคยใช้ครั้งแรกเหมือนกัน ปรากฎว่าชอบมากเหมือนกัน ทำให้รู้ว่า 65% 75% ที่เคยใช้งานมันพิมพ์ยากขึ้นกว่าเดิม เพราะ TKL มีพื้นที่ที่กว้างมากสำหรับ “การพิมพ์อย่างเดียว” หมายถึงว่าไม่ต้องแชร์คีย์กับปุ่ม Function ทำให้การจังหวะการกด การก้าวนิ้ว ดีขึ้นจากเดิมมาก ๆ ติดปัญหาเดียวคือ เวลาว่าง Keyboard กับหน้าจอแล้วมันไม่อยู่ตำแหน่ง Centre แต่ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยที่แลกมากับพื้นที่กว้างขึ้น
เรื่องสุดท้ายที่ชอบคือเรื่องของ Mounting เป็นคีย์บอร์ดตัวแรกที่ได้เคยลอง Gasket mounth แบบเป็น Silicone socks หลังจากที่เคยใช้แบบที่เป็น Poron foam มาตลอด พบว่าแบบ Silicone ให้ความเด้งสนุกมือกว่ามาก ๆ ยิ่งใช้งานร่วมกับ Polycarbonate plate ยิ่งมีความเข้ากันได้เป็นอย่างดี
เขียนมายาวพอสมควร Blog รีวิว Tiger 80 ขอจบลงเพียงเท่านี้…